วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ศิลปะการบริหารงานของหัวหน้างาน

ศิลปะการบริหารงานของหัวหน้างาน

วิเคราะห์ศัพท์
                         ศิลปะ  --  ผีมือ  (เทคนิค วิธีการ  การปฏิบัติ)
                         บริหาร  --  ดำเนินการ  จัดการ  (การดำเนินการเพื่อให้บรรลุภารกิจ)
                         หัวหน้างาน  --  ทุกตำแหน่งที่มีคำว่า   หัวหน้า  หรือ  ผู้อำนวยการ
                                                 --  หรือชื่อตำแหน่งอื่นที่มี  ลูกน้อง

สรุปเป็น         ฝีมือการจัดการงานของหัวหน้างาน  หรือ  เทคนิควิธีการบริหารงานของหัวหน้างาน

ความหมายและหัวใจของการบริหารงาน
                         - การบริหารงาน  คือ  วิธีการใช้  คน  เงิน  เวลา  ทรัพยากร  ที่มีอยู่  เพื่อปฏิบัติภารกิจของหน่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
                         - “คน  เป็นสิ่งสำคัญที่สุด  หากบริหาร  คน  ได้  คนก็จะช่วยกันทำงานอย่างเต็มที่
                         - “ใจ  เป็นสิ่งสำคัญที่สุดของ  คน  หาก  ครองใจ  ได้  ก็จะ  ครองคน  ได้
                         - จะ  ครองใจ  คนได้  ต้อง  จริงใจ  กับเขาก่อน
                         - จะ  จริงใจ  กับผู้อื่นได้  ต้อง  จริงใจ  กับตัวเองก่อน
                         - เวลา  --  เป็นปัจจัยกำหนดความสมบูรณ์ของงาน  และเป็นปัจจัยหนึ่งที่ใช้ควบคุมการปฏิบัติงาน
                         - ทรัพยากร  --  วัสดุอุปกรณ์ทั้งมวลที่เกี่ยวข้องในการทำงาน  เช่น  รถยนต์  น้ำมัน  คอมพิวเตอร์  ฯลฯ

เทคนิควิธีการปฏิบัติต่อ  คน
                         - แบ่งเป็น    พวก  คือ  .  ตัวเรา  . นาย  . ลูกน้อง  . ระดับเดียวกัน
                    - ในขณะที่เราเป็น  หัวหน้า  เราก็เป็น  ลูกน้อง  ของ  นาย
                         - เราอยากมี  นาย  ที่ดี  ลูกน้องเราก็อยากมีเหมือนกัน
                         - เราไม่ชอบ  นาย  แบบไหน  ลูกน้องเราก็ไม่ชอบเหมือนกัน
.  การปฏิบัติต่อตนเอง
                       -  ยึดคติเตือนใจที่ดีและพยายามปฏิบัติให้ได้ตามนั้น -- บุคคลสำคัญ  ทางโลก - ทางธรรม
                             - ปฏิบัติตัวเป็นตัวอย่างในเรื่องที่คนทั่วไปมักจะปฏิบัติย่อหย่อน เช่น
                                * การแต่งกายถูกระเบียบ  การทำความเคารพ
                                * การตรงต่อเวลาในการเข้าทำงานเช้า พักกลางวัน และเวลากลับบ้าน
                                * การไม่ใช้โทรศัพท์ราชการติดต่อเรื่องส่วนตัว
                                * การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบของโต๊ะทำงาน
                                * การประหยัดไฟฟ้าด้วยการปิด - เปิดไฟ/เครื่องปรับอากาศ ตามเวลาที่กำหนด
                                * การไม่กู้หนี้ยืมสิน ไม่เล่นหวยใต้ดินในที่ทำงาน
                                * ไม่สวมรองเท้าแตะนั่งทำงาน หรือเดินออกนอกโต๊ะทำงาน
                         - สร้างความสัมพันธ์อันดีกับหน้าห้องผู้บังคับบัญชาทุกระดับที่หนังสือจะต้องผ่าน
                         - มีของขวัญเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ ทุกคนในหน่วย เมื่อถึงวันเกิดหรือเทศกาลปีใหม่
                         - ใช้หลักธรรมะในการปฏิบัติงาน ที่ใช้ประจำได้แก่
                               * เราจะให้อภัย ไม่โกรธ ไม่หงุดหงิด ไม่อึดอัดขัดเคืองผู้ใด  หรือเรื่องใด
                                * เราจะช่วยเหลือผู้อื่นตามหน้าที่  กำลัง  และโอกาสที่จะพึงทำได้
                               * เขามีส่วนเลวบ้างช่างหัวเขา จงเลือกเอาส่วนที่ดีเขามีอยู่  เป็นประโยชน์โลกบ้างยังน่าดู  ส่วนที่ชั่วอย่าไปรู้ของเขาเลย  จะหาคนมีดีโดยส่วนเดียว  อย่ามัวเที่ยวมองหาสหายเอ๋ย  เหมือนเที่ยวหาหนวดเต่าตายเปล่าเลย  ฝึกให้เคยมองแต่ดีมีคุณจริง
                               * กรรมบท ๑๐ ได้แก่  กาย    (ไม่ฆ่าสัตว์  ไม่ลักทรัพย์  ไม่ประพฤติผิดในกาม)  วาจา 
(ไม่พูดปด  ไม่พูดหยาบ  ไม่พูดส่อเสียด  ไม่พูดเพ้อเจ้อ)  ใจ    (ไม่คิดอยากได้ทรัพย์ผู้อื่นโลภะ  ไม่ผูกอาฆาตโทสะ  มีความเห็นถูกต้องโมหะ)
                                * แก้ที่คนอื่นยาก ต้องแก้ที่ใจเรา
                         - ตั้งใจที่จะพัฒนาจิตใจตนเองให้มีจริยธรรมคุณธรรมและศีลธรรมยิ่ง ๆ  ขึ้น  โดยเฉพาะเวลาขับรถ  ใช้เป็นโอกาสในการพัฒนาจิตใจได้มาก  ไม่ปล่อยใจไปตามกระแสสังคมซึ่งต้องเอาตัวรอด  ขอไปก่อน  ขอไปเร็ว  ไม่มีน้ำใจให้กัน
                      - รับการแสดงการเคารพของผู้อื่นด้วยความเคารพ ยิ้มแย้มแจ่มใส โค้งตอบเมื่อเขาเงยหน้าแล้ว
                    -  ไม่รับสินบนหรือของกำนัลในลักษณะสินบนจากบุคคลอื่น
.  การปฏิบัติต่อนาย
                         - ซื่อสัตย์ จริงใจต่อนายและลูกน้อง  ถือหลัก รายงาน นาย ทุกเรื่อง  กระจายข่าวสารให้
ลูกน้องทราบ  แลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อนร่วมงาน
                   - รายงานเรื่องที่ทำการแทนนาย ทันที่ที่ท่านกลับมา หรือเขียนโน้ตทิ้งไว้บนโต๊ะนาย
                         - เมื่อนายเหนือขึ้นไปเรียกนายเรา  ช่วยคิดและคาดเดาว่าจะเป็นเรื่องอะไร เสนอแฟ้มอะไรขึ้นไปหรือสอบถามหน้าห้อง ให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่นายเรา เอาเรื่องเดิมมาให้ท่านทบทวน เสนอแนะจุดที่คิดว่าน่าจะเป็นปัญหา และคำตอบหรือคำชี้แจงต่อผบช.
                         - ไม่งอนหรือแสดงสีหน้าไม่พอใจนาย เมื่อนายใช้อารมณ์กับเรา
                       - ไม่เถียงนายต่อหน้าผู้อื่น ใช้วิธีขออนุญาตชี้แจงเมื่อไม่มีคนอื่นแล้ว
                       -  ไม่ต้องให้นายสั่งไปเสียทุกเรื่อง
                       -  ไม่ก้าวก่ายเรื่องส่วนตัวของนาย
                         - ไม่ทำหรือส่งเสริมหรือสนับสนุนให้นายทำในสิ่งที่ผิดศีลธรรม, คุณธรรม, จริยธรรม, ระเบียบ, ข้อบังคับ ตลอดจนกฎหมายบ้านเมือง
                         - ไม่ประพฤติตนผิดศีลธรรม, จริยธรรม, ระเบียบ, ข้อบังคับ, กฎหมายบ้านเมือง จนมีเรื่องเดือนร้อนมาถึงนาย
                         - ไม่ใช้หน้าที่และฐานะที่อยู่หน้าห้องนาย เพื่ออำนวยประโยชน์ให้แก่พวกพ้อง หรือคนในครอบครัวในทางที่ไม่สมควร
                         - ไม่ตอบนายว่าไม่ทราบอยู่เสมอ ๆ ควรใช้คำพูดว่าขออนุญาตไปตรวจสอบก่อน
                         - กล้าพูด กล้าถาม กล้าแสดงความคิดเห็นทุกเรื่อง อย่างตรงไปตรงมา
                         - เสนอแนะนายในการดูแลสวัสดิการและความก้าวหน้าของเพื่อนร่วมงานและลูกน้อง
                         - ทำใจให้พร้อมที่จะรองรับอารมณ์โกรธหรือถูกด่าว่า ถูกตำหนิจากนาย (บางคน) โดยไม่แสดงออกซึ่งความไม่พอใจ
                         - ชี้แจงเหตุผลให้นายทราบเมื่อนายอารมณ์เย็นลงแล้ว
                         - ริเริ่มวาดภาพล่วงหน้าเสมอ สมมุติว่าถ้าเราเป็นนายเราจะต้องไปไหน ทำอะไรบ้างในวันนี้และพรุ่งนี้  ควรจะต้องรับรู้หรือเตรียมการอย่างไรบ้าง แล้วเราก็เตรียมแบบนั้นให้นายโดยไม่ต้องรอให้นายสั่งก่อนจึงทำ
.  การปฏิบัติต่อลูกน้อง
                     - ให้ความเป็นธรรม  ไม่ลำเอียง  ให้ลูกน้องประจบด้วยงานไม่ให้ประจบสอพลอ
                         - ใช้คำพูดที่ให้กำลังใจ  ไม่ทำให้เสียกำลังใจ  
                         - รักษาน้ำใจลูกน้องและเพื่อนร่วมงาน และ เช่น การแก้หนังสือ การรับประทานของว่าง
                   - ให้ความเห็นใจต่อความจำเป็นส่วนตัวของแต่ละคน ถามทุกข์สุข ถามการเดินทางไป - กลับบ้าน เห็นใจไม่ใช้งานใกล้เวลากลับบ้าน
                         - แม้ว่างานจะมากเพียงใด แต่ต้องไปเยี่ยมลูกน้องที่ป่วยเข้าโรงพยาบาลเสมอ  ดีใช้ ไข้รักษา
                         - ใช้คนให้เหมาะกับงาน รู้ว่าใครถนัดอะไร ไม่ถนัดอะไร สั่งแล้วทำไม่ถูก ใคร่ครวญดูว่าเขาเข้าใจผิดหรือเราสั่งไม่ชัดเจน
                         - พูดกับลูกน้องที่เกเร แบบสองต่อสอง สอบถามความจำเป็นส่วนตัว ขอให้คิดถึงส่วนรวมไม่เอาเปรียบเพื่อนร่วมงาน ไม่ด่าว่าต่อหน้าคนอื่น
                         - ไม่ตำหนิโดยออกชื่อบุคคลในที่ประชุม  ใช้วิธีเรียกมาคุยตามลำพัง
                         - ไม่ทำลายบรรยากาศในสำนักงานด้วยการระบายอารมณ์ใส่ลูกน้อง
                         - ขอโทษลูกน้องเสมอเมื่อความผิดพลาดนั้นเกิดจากเรา  ทำให้เขาต้องพิมพ์ใหม่  ทำใหม่
                         - ให้เกียรติด้วยคำพูดต่อลูกน้องที่มีอายุมากกว่า แต่ไม่ให้เสียการปกครองตามวินัยพนักงาน
                         - ลูกน้องปฏิบัติไม่ถูกไม่เหมาะสมด้วยเรื่องใด ไม่ต่อว่าทันที ดูที่ตัวเราก่อนว่าสั่งผิดหรือเปล่า พูดหรือเขียนไม่ชัดเจนหรือเปล่า ถ้าตรวจสอบแล้วเราไม่ผิด จะใช้วิธีสอนและอธิบายในสิ่งที่ถูกให้ฟัง
                    - ไม่โทษลูกน้องเมื่อนายตำหนิ เนื่องจากเอกสารผิดพลาด  เพราะเราก็มีส่วนในการตรวจผ่านไป
                        - ทำตัวเป็นครูและแม่ที่ดี  กล้าพูดกล้าสอน ไม่เป็นแม่ปู - ลูกปู ไม่กลัวลูกน้องไม่ชอบตัวเอง
                    - สนับสนุนลูกน้องที่หารายได้พิเศษโดยสุจริต ไม่เบียดบังเวลาราชการจนเกินไป เช่น ช่วยซื้อของที่นำมาขายนอกเวลางาน ฯลฯ
                         - กล่าวชมเชยและขอบคุณลูกน้องเสมอ ๆ
                         - ดูแลให้มีเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำงานของลูกน้องอย่างเพียงพอไม่สั่งงานอย่างเดียว
                         - ใช้งานลูกน้องออกนอกหน่วย ให้ค่าอาหาร ค่าน้ำมันรถ  และใช้ในเส้นทางกลับบ้าน
                         - ปกป้อง  สนับสนุน  ลูกน้องที่ดี
                         - ตักเตือน  ลงโทษ  ลูกน้องที่ทำผิด
                         - เสียสละให้ลูกน้องบ้าง  -- เงิน  เวลา
                         - เลี้ยงลูกน้อง  ทั้งในและนอกสถานที่  ในโอกาส - เทศกาล  อันควร
                         - พาลูกน้องไปเที่ยว พักผ่อน  ต่างจังหวัด  พร้อมครอบครัว  ในโอกาสอันควร
                         - ไปร่วมงานส่วนตัวของลูกน้องตามโอกาสอันควร  เช่น  งานศพญาติ  งานบวช  งานแต่งงาน
                         - มีอารมณ์ขันบ้าง  แต่ไม่พร่ำเพรื่อ  วางตัวให้สมกับเป็นหัวหน้า
                         - สนับสนุนลูกน้องให้ก้าวหน้า  ไม่ดึงตัวไว้เพื่อช่วยงานของหน่วยตลอดไป
                         - ไม่กู้ยืมเงินลูกน้อง  และไม่ให้ลูกน้องยืม  จะเสียการปกครอง  หาวิธีช่วยทางอื่น
                         - วางตัวให้ลูกน้องรู้สึกว่า  เราเป็นทั้งนาย  พี่  เพื่อน  ครู  หรือพ่อแม่
                     - เป็นผู้ทำให้ลูกน้องสามัคคีกัน  ไม่เป็นผู้แบ่งพวกเสียเอง
                   - เป็นผู้ประสานรอยร้าวระหว่างลูกน้องที่บาดหมางกัน  ถึงแม้จะเกิดจากเรื่องส่วนตัว
อย่าคิดว่าเป็นเรื่องส่วนตัวของเขา 
                         - ต้องแก้ปัญหา  ไม่หนีปัญหา  กล้าตัดสินใจ  กล้ารับผิดชอบ  โดยเฉพาะเรื่องสำคัญที่อาจมีปัญหา  หรือเรื่องที่ไม่แน่ใจว่านายเหนือขึ้นไปจะเห็นด้วยหรือไม่  ต้องกล้าเซ็นเอง  ไม่ให้ลูกน้องทำการแทน
                         - รู้หน้าที่ของตัวเอง  ไม่ต้องรอให้ลูกน้องมาขอร้อง  เช่น  การประสานงานระหว่างหน่วย
                         - สั่งให้ลูกน้องทำงาน  นอกหน่วย  นอกเวลา  หรือวันหยุด  เราควรไปเยี่ยมเยียน  ให้กำลังใจ
กำกับดูแล  ซื้อของกินไปฝาก
                         - ลูกน้องเข้าใหม่  ต้องปฐมนิเทศด้วยตัวเอง  และแต่งตั้งมอบหมายคนเก่าให้ทำหน้าที่พี่เลี้ยง
                         - กล้าพูดในที่ประชุมเพื่อสนับสนุนลูกน้องให้ก้าวหน้า  หรือปกป้องลูกน้องให้ได้รับความ
เป็นธรรม  จากการพูดของผู้อื่น
                         - ไม่ทำให้ลูกน้องเกิดความรู้สึกว่า  เราสนิทกับใครหรือชอบใครเป็นพิเศษ  ไม่ให้เกิดคำพูดว่าคนนั้นคนนี้เป็นเด็กนาย
.  การปฏิบัติต่อหัวหน้าระดับเดียวกัน
                         - ให้เกียรติ  ไม่ก้าวก่าย  ใช้  ประสาน  ขอความร่วมมือ
                         - ไม่อิจฉา  ริษยา  ชิงดีชิงเด่น  แล้งน้ำใจ  เอาเปรียบ
                         - จริงใจต่อกัน  ร่วมกันทำงานเป็นทีม  เพื่อความสำเร็จของหน่วยใหญ่
                         - ส่งเสริมให้ลูกน้องสองหน่วยสามัคคีกัน  ให้มีน้ำใจต่อกัน  ไม่คิดว่างานใครงานมัน
                         - แข่งกันทำงานให้ดี  ไม่แข่งกันเอาหน้า
                      - หัวหน้ากับหัวหน้า  ถูกคอกันดี  ลูกน้องก็เป็นสุข  บรรยากาศการทำงานก็ดี
                         - หัวหน้ากับหัวหน้า  ไม่ถูกกัน  ลูกน้องก็เป็นทุกข์  บรรยากาศการทำงานก็ตึงเครียด
                      - นายของเรา  ก็พลอยลำบากใจ
                      - จะใช้ลูกน้องของเขา  ควรบอกกล่าวกัน
                                               
เทคนิควิธีการปฏิบัติต่อ  งาน
                         - แบ่งเป็น  . งานทั่วไป  . งานเอกสาร  . งานการให้บริการลูกค้า
. งานทั่วไป
                         - เป็นหัวหน้า  ต้องรู้ภารกิจ หน้าที่  และนโยบายของ  หน่วย/ผู้บังคับบัญชา
                         - เป็นหัวหน้าเล็ก  ต้องรู้ลึก  แต่ไม่ต้องรู้หมด
                         - เป็นหัวหน้าใหญ่  ต้องรู้หมด  แต่ไม่ต้องรู้ลึก
                    - เรื่องต่าง ๆ  เกี่ยวกับหน่วยงานที่ปฏิบัติงานอยู่  ที่  หัวหน้า  ควรรู้และมีเอกสารอยู่กับตัว
(หรือควรจัดทำหากยังไม่มี)
                                 .       อัตราการจัดหน่วย  ตั้งแต่ระดับบนสุดถึงระดับหน่วยรองของเรา
                                      . หน้าที่ของหน่วย  และหน้าที่ตามตำแหน่งต่าง ๆ  ที่มีระบุไว้อย่างเป็นทางการ
                                     . ปฏิทินการปฏิบัติงานในวงรอบปีงบประมาณของหน่วย
                                      . บัญชีบรรจุกำลังพลภายในหน่วย
                                      . หมายเลขโทรศัพท์ที่ทำงาน  ที่บ้าน  และมือถือ  ของผู้บังคับบัญชาของหน่วย  และของกำลังพลภายในหน่วย
                                      .  ระเบียบปฏิบัติประจำ  (รปจ.)  ของหน่วย
                                      . ระเบียบของหน่วย เกี่ยวกับสิทธิและสวัสดิการที่เกี่ยวข้อง
                         - บริหารจัดการ  โดยการ  สั่งการ  กำกับดูแล  ให้เป็นไปตามภารกิจหน้าที่ของหน่วยและของแต่ละคน
                         - ยึด  หลักการ  ไม่ใช้  หลักกู  มีเอกสารแสดงได้     
                         - ทำตัวเป็น  เทรนเนอร์  สอนได้  ชกเองได้
                         - ไม่หนีงาน  เช่น  ป่วย  มีธุระ  ในวันที่มีงานที่ไม่อยากทำ  หรือทำไม่ถนัด
                         - ต้องดูแลให้มี  คน  และ  เครื่องมือ  ในการทำงาน  อย่างพอเพียง  ต้องกล้าเสนอแก้ไข
ต้องกล้าขอนาย
                         - กระตุ้นลูกน้องให้ตื่นตัวอยู่เสมอ
                         - ใช้ทั้งพระเดชและพระคุณ --  เลื่อนตำแหน่ง  ให้ ๒ ขั้น  ตัดเงินเดือน  ทำทัณฑ์บน  ตักเตือน
                         - เป็นหัวหน้าต้องกล้าคิด  กล้าพูด
                         - มองภาพรวมอยู่เสมอ
                                                .  ทำตามหน้าที่ครบถ้วน  ถูกต้อง  ทันเวลา  แล้วหรือยัง
                                                . มีวิธีทำให้เร็ว  ให้มาก  ให้สะดวก  กว่านี้ไหม
                         - นึกถึง  ผู้ป่วย  เป็นหลัก  ทำอย่างไร  ที่จะช่วยให้เขาคลายทุกข์กายใจ  ได้เร็ว  ได้มาก  ได้สะดวก
                       - หมั่นประชุมเป็นนิจ  รับฟังความคิดของลูกน้อง  แต่อย่าพูดนาน  พูดมากไม่เข้าเรื่อง  จนลูกน้องไม่มีเวลากลับไปทำงาน
                         - ไม่  คิด  และ  พูดว่า  เขาก็ทำกันมายังงี้
                         - คิดที่จะ  พัฒนา  หรือ  ปรับปรุง  งานให้ดีขึ้น  เร็วขึ้น  สมบูรณ์ขึ้น  อยู่เสมอ
                      - ประสานงานด้วยวาจาให้มาก  เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ  ไม่ต้องทำหนังสือให้เสียเวลา  (ยกเว้นต้องการ หรือต้องมีเป็นหลักฐาน)
. งานเอกสาร
                         - ต้องมีสติ  จัดลำดับความเร่งด่วนของงาน
                         - ต้องกระจายงาน  แบ่งงาน  แต่ไม่ใช่แบ่งไปหมด  ตัวเองรอเซ็นอย่างเดียว
                         - ต้องควบคุมงานทั้งหมดของหน่วย  อย่าให้เสมียนหรือเจ้าหน้าที่ รับ - ส่ง หนังสือ เป็นคนคุม
                         - เป็นหัวหน้า  ควรมีเอกสารอ้างอิง  หรือข้อมูลสำคัญ  ไว้ใกล้ตัว
                         - ไม่หวงข้อมูลเก็บไว้รู้คนเดียวเพื่อทำให้ตัวเองเป็นคนสำคัญที่รู้เรื่องดี  --  เตรียมข้อมูลให้
นายบ้าง  บอกให้ลูกน้องรู้บ้าง
                         - ควรจัดทำแฟ้มนโยบาย ผบช.ไว้คอยเตือนตัวเอง
                         - งานบางงาน  ลูกน้องไม่อยู่  หรือนายต้องการด่วน  ต้องลงมือทำเองได้
                         - ไม่ซุกเรื่อง  ดองเรื่อง  ผลัดวันประกันพรุ่ง
                         - เซ็นแล้วต้องรับผิดชอบ  ไม่โทษลูกน้องเมื่อนายตำหนิ  ให้อภัยลูกน้อง  ให้คำแนะนำ  เล่าให้ฟังเพื่อให้ช่วยกันระวังไม่ให้เราถูกด่า  ไม่ใช่ด่าลูกน้องต่อ  (ควรด่าตัวเองด้วย)  ให้กำลังใจ  คนที่ไม่เคยทำผิด  คือคนที่ไม่เคยทำอะไร
                         - ถ้านายชมยกความดีให้ลูกน้อง  บอกให้นายรู้ว่า  คนทำเริ่มต้นคือใคร  ใครกำกับดูแล
                         - ไม่ว่าจะได้รับคำชมหรือคำตำหนิ  ควรประชุมชี้แจงหรือเวียนให้ลูกน้องทุกคนทราบทั่วกัน
เพื่อเป็นกำลังใจ  หรือระวังไม่ทำให้หน่วยเราถูกตำหนิในเรื่องแบบเดียวกันนี้อีก  (ไม่ใช่ประจาน)
                         - หน้าห้องนายแก้หนังสือเรา ถ้าเราผิดจริงยอมแก้โดยดุษณีและขอบคุณเขาที่ช่วยดูไม่โกรธ แต่ถ้าเขาผิด ขึ้นไปอธิบายให้ฟังหรือเขียนโน้ตชี้แจง ขออนุญาตยืนยันตามเดิมยกเว้นนายสั่งแก้
                     - เรื่องด่วนที่สุด สำคัญจริง ๆ ต้องรู้วิธีลัดขั้นตอน ทั้งการเสนอเซ็น และการให้ม้าเร็วไปส่งหนังสือถึงตัวบุคคลหรือหน่วยที่จะต้องปฏิบัติ ไม่ยึดติดกับระเบียบปฏิบัติจนเกินไป
                         - ให้เกียรติหน้าห้องนายในการตรวจแก้หนังสือ ถึงแม้เขาจะระดับต่ำกว่า ถือว่าเขาช่วยไม่ให้หนังสือของหน่วยผิดพลาด
                         - เป็นหัวหน้า  ต้องร่างหนังสือเองได้  พิมพ์เองได้ยิ่งดี 
                         - ไม่แก้ร่างหนังสือของลูกน้องโดยฉีกทิ้งทั้งฉบับหรือร่างใหม่ทั้งหมด พยายามใช้กระดาษของเขาและข้อความของเขาให้มากที่สุด เพื่อรักษาน้ำใจและเสริมสร้างกำลังใจ
                        - การแก้ร่างหนังสือไม่ใช้วิธีพูดอย่างเดียว   (แก้ด้วยปาก)  ว่าให้ไปปรับอย่างนั้นอย่างนี้ ลูกน้องจะอึดอัดและบ่นในใจว่าก็ผมคิดได้แค่นี้ จะให้แก้อย่างไรก็เขียนมาสิ  ควรลงมือแก้ในร่างของเขาเพื่อให้เขามีตัวอย่างเก็บไว้ดูด้วยว่าเราคิดอย่างไรเขียนอย่างไร
                         - รีบทำเรื่องด่วนทันทีที่เห็นไม่รอให้ลูกน้องนำมาให้ตามขั้นตอน
                        - เซ็นแฟ้มทันทีที่ลูกน้องนำมาวางไม่ให้เรื่องแช่อยู่ที่โต๊ะเรา
                   - รีบแจ้งเรื่องสำคัญเร่งด่วน ที่เกี่ยวข้องกับกำหนดการปฏิบัติของนาย ให้หน้าห้องทราบในชั้นต้นก่อน แล้วจึงทำงานหนังสือ

. งานการให้บริการลูกค้า
                         - กระตุ้นจิตสำนึกให้ทุกคนตระหนักว่า  เราจะทำงานเพื่อลูกค้า  เป็นหลักสำคัญกว่า
ไม่ใช่  ทำงานเพื่อความก้าวหน้าของตัวเอง
                         - คิดอยู่เสมอว่า  ถ้าไม่มีเขา  ก็ไม่มีเรา
                         - คิดว่าลูกค้าเป็นญาติของเรา  เราต้องทำหรือหาสิ่งที่ดีที่สุดให้เขา 
                         - เน้นการต้อนรับ  การพูด  การอดกลั้น
                         - ไม่ทำตัวให้ลูกค้ารู้สึกว่า  เรา  เป็น  เจ้านาย  ตรงกันข้ามอย่าลืมคำกล่าวที่ว่า
“ลูกค้าคือเจ้านาย”  หรือ  “ลูกค้าย่อมถูกเสมอ”
                         - คนไม่ดีย่อมมีอยู่ทุกวงการ  ต้องพยายามทำใจ  ไม่เหมารวม

เทคนิควิธีการปฏิบัติต่อ  เวลา
                         - เวลาแล้วเสร็จที่หน่วยเหนือกำหนด  แบ่งเป็น    ส่วน  เราใช้ไม่เกิน    ส่วน  ให้ลูกน้อง
  ส่วน
                         - จัดลำดับงานตามความเร่งด่วนของเวลา
                         - ปรับลำดับงานอยู่เสมอเมื่อมีงานใหม่เข้ามา  ไม่ใช่ทำตามคิวโดยไม่พิจารณาความสำคัญเร่งด่วน
                         - ใช้เวลาเป็นเครื่องมือควบคุมการปฏิบัติงานของลูกน้อง
                         - แบ่งเวลาให้ลูกน้องอย่างเหมาะสม
                         - เรื่องที่ต้องใช้ความคิดพิจารณา  ควรทำตอนเช้าซึ่งเป็นเวลาที่สมองปลอดโปร่งแจ่มใส
                         - ทำปฏิทินการปฏิบัติงานของหน่วยในรอบ เดือน/ปี
                         - ใช้ตารางนัดหมายหรือปฏิทินช่วยจำบนไวท์บอร์ด  เป็นเครื่องช่วยบันทึกเวลาการปฏิบัติงานต่าง ๆ
                         - บางครั้งต้องใช้เวลาส่วนตัวทำงานให้ราชการ  โดยนำงานกลับไปทำที่บ้านตอนกลางคืนหรือในวันหยุด

เทคนิควิธีการปฏิบัติต่อ  ทรัพยากร
                         - สำรวจเครื่องมือเครื่องใช้ว่ามีครบตามอัตราที่กำหนดหรือไม่
                         - เบิกให้ครบ  ส่งซ่อม  ขอจัดหาเพิ่มเติม
                         - ใช้คอมพิวเตอร์และพริ้นเตอร์แบบรวมการ  เชื่อมต่อระบบ LAN
                         - กำหนดผู้รับผิดชอบวัสดุอุปกรณ์แต่ละชิ้น  ติดป้าย
                  - เบิกหมึกพิมพ์หรือวัสดุสิ้นเปลืองไว้ล่วงหน้า  หรือกำหนดเวลาเบิกให้ชัดเจน  ไม่รอให้ของหมดจึงเบิก
                          - บางครั้งอาจต้องเสียสละเงินส่วนตัว  จัดหาวัสดุบางรายการ  เพื่อให้ลูกน้องมีของใช้
                         - กระตุ้นจิตสำนึกทุกคนในหน่วยงาน  ให้ช่วยกัน  ประหยัด  ทรัพยากรทุกอย่าง
                         - กระดาษที่ถ่ายเอกสารเสีย  หรือที่พิมพ์เสีย  นำมาใช้ร่างหนังสือ  หรือตัดทำกระดาษโน้ต
                         - กำหนดลำดับความเร่งด่วนในการใช้ทรัพยากร  ตามลำดับความสำคัญเร่งด่วนของงาน
ไม่กำหนดตามความสำคัญของตัวบุคคล
                         - นำของที่ใช้แล้วแต่ยังใช้ได้อีกกลับมาใช้ใหม่  เช่น  แฟ้มปกแข็ง - นำเอกสารข้างในออกใช้เชือกมัดไว้ หรือใส่กล่องใส่ตู้

สรุป                
                         - การบริหารงาน  คือ  วิธีการใช้  คน  เงิน  เวลา  ทรัพยากร  ที่มีอยู่  เพื่อปฏิบัติภารกิจของหน่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
                         - “คน  เป็นสิ่งสำคัญที่สุด  หากบริหาร  คน  ได้  คนก็จะช่วยกันทำงานอย่างเต็มที่
                         - “ใจ  เป็นสิ่งสำคัญที่สุดของ  คน  หาก  ครองใจ  ได้  ก็จะ  ครองคน  ได้
                         - จะ  ครองใจ  คนได้  ต้อง  จริงใจ  กับเขาก่อน
                         - จะ  จริงใจ  กับผู้อื่นได้  ต้อง  จริงใจ  กับตัวเองก่อน