วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ภาวะผู้นำกับการทำงานเป็นทีม

ภาวะผู้นำกับการทำงานเป็นทีม
                    ผู้นำ (Leader)  หมายถึง    บุคคลที่ได้รับการยอมรับและยกย่องจากบุคคลอื่น  หมายถึง   บุคคลซึ่งได้รับการแต่งตั้งขึ้นมา  หรือ  ได้รับการยกย่องให้เป็นหัวหน้าในการดำเนินงานต่าง ๆ
                    ผู้นำ (Leader)  คือ   ผู้ที่มีศิลปะที่สามารถมีอิทธิพลเหนือผู้อื่น  นำบุคคลเหล่านั้นไปโดยได้รับความไว้วางใจและเชื่อใจอย่างเต็มที่อีกทั้งยังได้รับความเคารพนับถือ  ความร่วมมือและความมั่นใจจากผู้บังคับบัญชาอย่างจริงจัง  และคุณสมบัติของผู้นำ  คือการจะเป็นผู้นำ  นักทฤษฎีบางท่านได้ให้ความเห็นว่า  เป็นบุคลิกลักษณะเด่นบางคนมีมาแต่กำเนิดจะศึกษาเล่าเรียนไม่ได้
หรือสอนกันไม่ได้  ดังเช่น  มหาบุรุษของโลก  เช่น นโปเลียน   อับราฮัม   ลินคอร์น   พระเจ้าอโศกมหาราช  เป็นต้น  ท่านเหล่านี้มีบุคลิกลักษณะเด่นเป็นพิเศษกว่าบุคคลธรรมดาและนานนับร้อย ๆ ปี  จึงจะพบสัก แต่การเป็นผู้นำในลักษณะการบริหารนั้นอาจจะศึกษาหรือฝึกฝนให้มีขึ้นมาได้  โดยอาศัยผู้ที่ได้ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับชีวประวัติของบุคคลชั้นนำของโลก  ได้รวบรวมเป็นวิชาหลักขึ้น  สรุปคุณสมบัติของผู้นำที่จะเป็นผู้นำที่ดีไว้ได้  ดังนี้
ภาวะผู้นำในการทำงานเป็นทีม
                     ผู้นำที่ดีควรจะใช้ ทฤษฎีความร่วมมือ   (Cooperation Theory)   ที่เน้นในการสนับสนุนสมาชิกของทีมให้ปฏิบัติต่อกันเสมือนเพื่อนร่วมงานไม่ใช่คู่แข่ง  โดยพยายามเน้นคำว่า เพื่อนร่วมทีม  และลดการใช้คำว่า ลูกน้อง  หรือ พนักงาน  เพื่อลดความแตกต่าง  สร้างบรรยากาศที่ดี  ผู้นำควรมีบทบาทในการสร้างความเชื่อถือ  และสร้างแรงจูงใจให้แก่ทีมงาน สามารถสรุปบทบาทของผู้นำทีมที่ดีได้ดังนี้
                            1.  แสดงถึงความเป็นผู้นำทีมที่ดี  มีความอดทน  ตั้งใจจริง   ไม่หงุดหงิดในความล่าช้าของผู้ร่วมทีม  พร้อมเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำทำให้สมาชิกทีมเกิดความสบายใจในการร่วมงาน   เพื่อสร้างพลังการทำงานของทีม
                            2.  อำนวยความสะดวกให้กับการทำงานเป็นทีม  มีการจัดรูปแบบโครงสร้างการประสานงานที่ดี  สนับสนุนให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างมาตรฐานการทำงาน  สร้างบรรยากาศ  การทำงานและในการประชุมแบบเป็นกันเอง  เพื่อลดความตึงเครียดในการทำงานและการมีส่วนร่วม ( บรรยากาศแบบไม่เป็นทางการ  จะก่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากกว่าแบบเป็นทางการ)
                           3. สร้างการติดต่อสื่อสารภายในทีมที่ชัดเจน  ก่อให้เกิดความเข้าใจนำไปสู่สัมพันธภาพที่ดีและมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน  ในบางครั้งผู้นำทีมอาจจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น งานสังสรรค์ หรืองานวันเกิดของสมาชิกทีม  เพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีภายในทีมงาน
                           4.  สร้างแรงจูงใจให้กับทีม  ผู้นำจะต้องรู้ถึงเทคนิคการจูงใจสมาชิก  เข้าใจในพฤติกรรมบุคคลและตอบสนองความต้องการของทีม
                           5.  สร้างขวัญและกำลังใจให้กับทีม  ทำให้สมาชิกทีมรู้สึก เป็นเจ้าของทีม  ร่วมกัน  มีความมุ่งมั่นในการทำทีมสู่ความสำเร็จ
                       การทำงานเป็นทีมจะประสบความสำเร็จ  จะต้องมีผู้นำที่มีประสิทธิภาพ  ดังนั้นผู้นำทีมงานจะต้องสร้างภาวะความเป็นผู้นำให้เกิดขึ้น    และเลือกใช้พฤติกรรมหรือวิธีการที่เหมาะสม  ทั้งนี้โดยอาศัยพื้นฐานความสามารถที่มีอยู่ประกอบกับการพัฒนาฝึกฝนอย่างจริงจังเพื่อให้มีความเป็นผู้นำ(Leadership)
                ทักษะของผู้นำทีมงานที่มีประสิทธิภาพ
                           เอ็นส์ และเพจ (Ends snd Page  อ้างถึงใน  คู่มือเตรียมสอบ, 2551: 86)  ได้เสนอแนะว่าผู้นำทีมงานจะพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ 6  ด้าน  ได้แก่
1)      ทักษะการสื่อสาร  ผู้นำทีมงานต้องสามารถสื่อสารกับสมาชิกของทีมงานได้
ทั้งแบบตัวต่อตัวและกับทีมงานได้อย่างมีคุณภาพ  เพราะการสื่อสารที่ดีของหัวหน้าทีมจะช่วยสร้างความเข้าใจก่อให้เกิดความร่วมมือ  และการประสานงานที่ดีในระหว่างสมาชิกและระหว่างทีมงาน
2)       ทักษะการวางแผน  ผู้นำทีมงานจะต้องชัดเจนเกี่ยวกับวัตถุประสงค์เป้าหมาย 
และวิธีการปฏิบัติงาน  สามารถกำหนดกลยุทธ์ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติให้เป็นมรรคผล  
3)      ทักษะการจัดองค์การ  ผู้นำทีมงานต้องพิจารณาภารกิจหน้าที่ต่าง ๆ ซึ่งต้อง
ปฏิบัติทั้งหมดแล้วนำมาจัดกลุ่มภารกิจ  หรือหน้าที่  พร้อมทั้งกำหนดบุคคล  ขอบเขต  อำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงานและทรัพยากรสนับสนุนในการปฏิบัติงาน  ตลอดจนกำหนดรูปแบบการติดต่อสื่อสาร  และการประสานงาน
4)      ทักษะการสอนแนะ  ผู้นำทีมงานต้องสอนหรือแนะนำสมาชิก  ทีมงานได้
เรียนรู้วิธีการปฏิบัติอย่างละเอียด  อาจรวมถึงการสาธิตทำให้ดูเป็นตัวอย่าง  นอกจากวิธีนี้ยังต้องให้ความช่วยเหลือสมาชิกในการวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการทำงาน  เสนอแนะวิธีแก้ปัญหาข้อบกพร่องต่าง ๆ
5)      ทักษะการจูงใจ  ผู้นำทีมงานต้องมีความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานความต้องการของ
บุคคล  พฤติกรรมการทำงานที่แตกต่างกัน  เพื่อให้ทราบถึงวิธีการและเทคนิคที่ใช้จูงใจ  สมาชิกทีมงานให้สามารถปฏิบัติงานตามเป้าหมายของทีมงานได้
6)      ทักษะการเจรจาต่อรอง  ต้องสามารถเจรจาต่อรองกับสมาชิกแต่ละคนใน
ทีมงานเกี่ยวข้องกับงานและบทบาทให้ทุกฝ่ายเข้าใจความคาดหวังที่พึงประสงค์ร่วมกัน  และยังรวมถึงการเจรจากับบุคคลนอกทีมงานในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทักษะทั้ง  6  ด้านเป็นทักษะสำคัญ
ที่ผู้นำทีมงานจำเป็นต้องพัฒนาให้เกิดขึ้น  สิ่งที่พึงตระหนัก      คือ      ทักษะเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับทักษะอื่น ๆ อีก  เช่น  ทักษะการสื่อสารจะครอบคลุมถึงการฟัง  การตีความและการให้ข้อมูลย้อนกลับ  เป็นต้น  ฉะนั้นในการพัฒนาทักษะแต่ละด้านต้องดำเนินการอย่างครบวงจรและเป็นระบบ

1 ความคิดเห็น:

  1. เป็นบทความที่น่าสนใจ มีประโยชน์ต่อผู้ที่ศึกษามาก

    ตอบลบ