วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

มนุษยสัมพันธ์กับความเป็นผู้นำ

มนุษยสัมพันธ์กับความเป็นผู้นำ บุคคลในองค์กรมี 3 บทบาท คือ
1. มนุษยสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา
  • กำหนดนโยบาย เป้าหมายองค์กรให้ชัดเจน ชี้แจงผู้ใต้บังคับบัญชา
  • กำหนดอัตราค่าจ้างที่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง
  • สั่งการให้มีความชัดเจน ไม่กำกวม
  • มีความซื่อสัตย์ต่อคำสั่งที่สั่งออกไป ไม่กลับคำ ซัดทอดความผิดให้ลูกน้อง
  • สอนงาน หรือ อธิบายงาน ให้ชัดเจน
  • ติดต่อสื่อสารได้ชัดเจน และทั่วถึงกับลูกน้อง
  • มีความยืดหยุ่นในการทำงานในเรื่องกฎเกณฑ์ ระเบียบ ตามสมควรแก่เหตุ
  • ใช้วินัยควบคุมให้เสมอภาค ไม่เลือกที่รัก มักที่ชัง
2. มนุษยสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา
  • ตั้งใจทำงาน รับฟังคำชี้แจงของหัวหน้าด้วยความตั้งใจ
  • ไม่นินทาผู้บังคับบัญชา (ลูกน้องไม่จงรักภักดี+ไม่เคารพนับถือ)
  • มีความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนางาน โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ
  • หลีกเลี่ยงการประจบสอพลอ
  • สนับสนุนกิจการของผู้บังคับบัญชา เรียนนิสัยของผู้บังคับบัญชา
  • ไม่ควรคล้อยตามผู้บังคับบัญชาทุกเรื่องโดยไม่มีเหตุผล
  • ปกป้องไม่ให้ผู้บังคับบัญชาเสียหน้า หรืออับอาย 8.ไม่ก่อศัตรูกับเพื่อนร่วมงาน
  • ไม่บ่นถึงความยากลำบากของการงานที่ได้รับมอบหมาย
  • มีความจงรักภักดี ซื่อสัตย์และจริงใจต่อผู้บังคับบัญชา
3. มนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
  • จริงใจต่อเพื่อนร่วมงาน
  • ให้ความช่วยเหลือเพื่อนในการงาน
  • รับผิดชอบร่วมกัน ไม่ซัดทอดความผิดให้เพื่อน
  • ให้เกียรติเพื่อนร่วมงาน
  • ให้ความสนใจเพื่อนอย่างจริงใจ
  • ยอมรับความเป็นตัวตนของเพื่อน
  • เข้าใจความต้องการ และความรู้สึกของเพื่อน
  • เป็นคนเสมอต้นเสมอปลาย
  • สนใจในสิ่งที่เพื่อนพูด พูดในสิ่งที่เพื่อนสนใจ
  • ยิ้มและมีอารมณ์ขันตามควร
  • มีมารยาทที่ดี ต่อเพื่อนๆ
  • ให้ความรัก ความเคารพความคิดเพื่อน
  • มีคุณธรรมในการติดต่อเพื่อนๆ (เมตตา กรุณา เห็นใจ ให้ความช่วยเหลือ)
  • มีความซื่อสัตย์ต่อเพื่อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น